วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัวของฉัน




ชื่อ นายเชิดศักดิ์ นามสกุล แสนศรี เกิดวันจันทร์ที่ 21 เดือนพฤศจิกายน ปี2531 ราศีพิจิก ปีมะโมง เกิดที่โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ บิดาชื่อ นายประเสริฐ แสนศรี มารดาชื่อ นางนิชาภา แสนศรี มีพี่น้องร่วมสายเลือด 3 คน พี่สาวชื่อ นางสาวกิษณา แสนศรี น้องสาวชื่อ นางสาวชนกสุดา แสนศรี ผมเป็นลูกคนที่ 2 เป็น ลูกชายคนเดียว ของบ้าน ที่เหลือก็ เป็น พี่สาวกับน้องสาว ที่อยู่ บ้านเลขที่ 189 หมู่ 9 ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ประวัติการศึกษา ชั้นอนุบาล 1-3 จบจาก รร.มีนปราสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 รร.มีนปราสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รร.หนองโตง "สุรวิทยาคม" จังหวัดสุรินทร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รร.สุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 รร.สุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม คณะวิทยาลัยการเมืองการปกครอง สาขานิติศาสตร์ อุปนิสัย ขี้เล่น ชอบแกล้ง รักเพื่อน ห่วงน้อง พูดเก่ง ใจร้อน กีฬาที่ชอบทีสุด เทเบิลเทนนิส (ปิงปอง) ประวัติการเล่นกีฬา เริ่มเล่นกีฬาชนิดนี้ตังแต่ ชั้ยประถมศึกษาปีที่ 4 - ปัจจุบัน รางวัลที่เคยได้รับ เหรียญทองกีฬานักเรียนนักศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประเภทชายเดียว ปี 2543 - 2546 รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี เหรียญทองกีฬานักเรียนนักศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประเภทชายคู่ ปี 2543 - 2546 รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี เหรียญทองกีฬานักเรียนนักศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประเภทชายเดียว ปี 2546 - 2549 รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี เหรียญทองกีฬานักเรียนนักศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประเภทชายคู่ ปี 2546 - 2549 รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี เป็นตัวแทนจังหวัดสุรินทร์ ในการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย รอบคัดเลือกภาค 3 ตั้งแต่ ปี 2543-2549 เป็นตัวแทนจังหวัดสรินทร์ ในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ รอบคัดเลือกภาค 3 ตั้งแต่ ปี 2543-2546 เป็นตัวแทนจังหวัดสุรินทร์ ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ รอบคัดเลือกภาค 3 ตั้งแต่ปี 2544-ปัจจุบัน ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาเยางชนแห่งชาติ รอบคัดเลือกภาค 3 เป็นตัวแทนภาค 3 ปี 2545
ก่อนที่ผมจะเกิดมา พ่อกับแม่ ได้มี ลูกสาว 1 คน ชื่อ เจนจิรา แสนศรี ซึ่งเป็นที่สาวของผม ในตอนนั้น พ่อกับแม่ ทำงานอยู่ที่ กรุงเทพ พ่อทำงาน เป็นลูกจ้างบริษัทรับเหมาแห่งหนึ่ง แม่ ก็เป็นแม่ที่ดีเลียงลูกสาวคนแรก จนกระทั้ง ผ่านไป 1 ปี ในเวลานั้น แม่ได้ตั้งครรถ์ผมเป็นเวลากว่า 8 เดือน และในตอนนั้น พ่อกับแม่ ได้เดินทางกลับมาหาย่า ที่จังหวัดสุรินทร์ ในระหว่างเดินทางกลับ แม่ได้ปวดท้องมาก พ่อจึงพาไปหาหมอที่ รพ.สุรินทร์ และได้กำเนิด ผมออกมาเป็น ลูกชายคนแรก และคนเดียวในครอบครัว หลังจาก คลอดผมออกมาไม่นาน พ่อก็ได้พาแม่ พี่สาว และผม ไปอยู่ที่ กรุงเทพ ในตอนนั้นบ้านของผม ยังไม่มี ยังต้องเช่าห้องเล็กๆ อยู่ พ่อกับแม่ลำบากมาก จนกระทั้ง พ่อได้เป็นผู้รับเหมา จัดตั้งบริษัทของตัวเองขึ้น มีรายได้ที่มากขึ้น จึงได้ซื้อ รถและบ้าน และย้ายไปอยู่ที่บ้านหลังใหม่ และได้ส่งพี่สาวผมเรียน ที่โรงเรียนมีนปราสาทวิทยา และผมก็ได้เข้าเรียนต่อจากพี่ หลังจาก 1 ปี เมื่อผมอายุได้ 6 ปี แม่ก็มีน้องสาวให้ผม 1 คน แต่น้อง ผม คลอดก่อนกำหนด 6 เดือน น้องผมจึงต้องอยู่ ในเตาอบอีก 3 เดือนถึงจะออกมาสูญอากาศข้างนอก เตาอบได้ ตอนแรกหมอบอกว่าน้องผมอาจไม่รอด แต่ด้วยบุญ วาสนาเราจะต้องได้มาเป็น ครอบครัวเดียวกัน น้องผมจึนได้มีชีวิตอยู่ ถึงปัจจบัน แต่น้องผมก็ต้องเสียอะไรอย่างหนึ่งไป คือน้องผม เดินไม่ได้ เป็นความโชคร้ายของน้องผม และ หลังจากนั้นไม่นาน ครอบครัวผมก็ต้องย้ายบ้าน กลับมาอยู่ที่บ้านเกิด ในปี 2540 (เป็นช่วงที่ฟองสบู่แตก) พี่สาว และ ผมต้องย้ายมาเรียน ที่ โรงเรียน หนองโตง สุรวิทยาคม ในเวลานั้น พี่สาวผมได้ เข้าเรียนในชั้น ป.6 ส่วน ผมทาง โรงเรียนไม่รับเข้าเรียน เพราะอายุไม่ถึงเกน ผมจึงไม่ได้เรียน ไป 1 ปี หลังจากนั้น ผมได้จบ ป.6 และได้เข้าเรียน ที่ รร.ประจำจังหวัดสุรินทร์ ชื่อ รร.สุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ เรียนจนกระทั้ง จบชั้น ม.6 แต่ที่ รร.แห่งนี้สอนอะไรให้ผมมากมาย ได้ทั้งมิตรภาพ ระหว่างอาจารย์กับนักเรียน เพื่อนกับเพื่อน และ รร.แห่งนี้ไม่ได้สอนให้ทุกคนเก่ง แต่สอนให้ทุกคนเป็นคนดี ของสังคม โดยมีคติประจำ รร. คือ ความประพฤตินำหน้า วิชาตามหลัง

IPv6 เปลี่ยนถ่ายเทคโนฯ เก่าสู่เอินเทอร์เน็ตยุคใหม่









การติดต่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 หรือ IPv6 มาใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีการติดต่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 4 หรือ IPv4อย่างไรก็ตาม หลายคนที่ยังไม่รู้อาจจะสับสนว่า การเปลี่ยนไปใช้ IPv6 นั้น จำเป็นหรือไม่ แท้จริงแล้วผลกระทบเป็นเช่นไร และในประเทศไทยผู้เกี่ยวข้องมีความพร้อมให้บริการมากน้อยแค่ไหนและอย่างไร ดังนั้น วันนี้…เราจะพากันไปหาคำตอบเหล่านี้กัน

รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหา วิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้คำตอบเกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นในการใช้งาน IPv6 ว่า IPv4 เริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 รวมระยะเวลามากกว่า 26 ปี มีเลขหมายรองรับ 4.29 พันล้านเลขหมาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเลขหมาย IPv4 ถูกใช้งานแล้ว 2.5 พันล้านเลขหมาย โดยคาดว่า จะหมดไปประมาณปี ค.ศ. 2010“มีการแจกจ่าย IPv4 ไปแล้ว 2.5 พันล้านเลขหมาย 1.4 พันล้านเลขหมายอยู่ในอเมริกา 550 ล้านเลขหมายอยู่ในยุโรป 155 ล้านเลขหมายอยู่ในญี่ปุ่น 125 ล้านเลขหมายอยู่ในจีน 20 ล้านเลขหมายอยู่ในอเมริกาใต้และอีก 100 ล้านเลขหมายอยู่ในที่อื่นๆ ทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยมีการใช้งาน 3.47 ล้านเลขหมายจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 13 ล้านราย” อาจารย์สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ม.สงขลานครินทร์ อัพเดทสถานะจำนวนเลขหมาย IPv4 ในปัจจุบัน

รศ.ดร.สินชัย เชื่อว่า จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า IPv4 จะหมดในเร็วๆ นี้ โดยภายในปี ค.ศ.2050 มีข้อมูลว่า จะมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 9 พันล้านเลขหมาย ขณะที่ในปี ค.ศ.2006 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกแล้ว 2.03 พันล้านเครื่อง และมีแนวโน้มว่า จะมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ“ปัจจุบันและอนาคตจะมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยแท็ปเลตพีซีและพีดีเอ เป็นต้น ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น 3 จี ไวไฟ และไวร์แม็ก เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะส่งผลให้ IPv4 ที่เหลือจำนวนจำกัดอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น ช่วงนี้หลาย ๆ ประเทศจึงเตรียมพร้อมและให้ความรู้การใช้งาน IPv6 ที่มีเลขหมายไว้รองรับมากถึง 340 ล้านล้านล้านล้านเลขหมาย โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีกระทรวงไอซีทีได้นำเทคโนโลยีดังกล่าว มาเผยแพร่ให้กับประชาชน

สำหรับผลดีของการนำ IPv6 มาใช้ อาจารย์สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ม.สงขลานครินทร์ ชี้ให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เปลี่ยน เพราะว่า ในที่สุดเราจะไม่มีเลขหมาย IPv4 ให้ใช้งาน รวมทั้งยากลำบากในการเชื่อมต่อกับประเทศอื่นและอุตสาหกรรมไอซีทีคงยากลำบาก นอกจากนั้น ยังจะทำให้อุปกรณ์คอนซูมเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือ ซีอี สามารถเพื่อให้สามารถเชื่อต่อและใช้งานร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเลขหมาย IPv6 และมาถึงทุกวันนี้ รศ.ดร.สินชัย อัพเดทแผนงานและสถานการณ์การใช้งาน IPv6 ในประเทศอื่นๆ ว่า ปัจจุบันอเมริกาได้ประกาศใช้ IPv6 ตั้งแต่ปี ค.ศ 2005 แม้จะได้รับการจัดสรรเลขหมาย IPv4 มากที่สุด ส่วนประเทศในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ในอันดับต้นๆ นั้น ได้เตรียมให้หน่วยงานราชการใช้งาน IPv6 อย่างเป็นทางการภายในปี ค.ศ.2008 ส่วนเกาหลีจะใช้การเชื่อมต่อซีอี IPv6 ในปี ค.ศ.2010 โดยปี ค.ศ.2008 จะเปิดให้บริการ IPv6 ในเชิงพาณิชย์
ในส่วนของเมืองไทย ดร.อาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีทีได้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการใช้งาน IPv6 เอาไว้แล้ว โดยได้กำหนดแผนไว้ 3 ระยะ ได้แก่ แผนระยะสั้นระหว่าง แผนระยะกลางและแผนระยะยาวเพื่อให้การดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกิดความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการไอซีที กระทรวงไอซีที เปิดเผยแผนการใช้งาน IPv6 ในประเทศไทยว่า ระยะสั้นระหว่างปี พ.ศ. 2550-2551 จะจัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญ IPv6 ที่มีหน้าที่ออกใบรับรอง IPv6 รวมทั้งจัดฝึกอบรมและออกใบ รับรอง ระยะกลางปี พ.ศ.2550-2552 จัดตั้งเครือข่ายภาครัฐให้เป็นโครงข่ายหลักที่สามารถรองรับการใช้งาน และในระยะยาว ปี พ.ศ.2550-2553 กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ไอเอสพีสามารถให้ IPv6 แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต

ทางด้าน ดร.เฉลิมพล ชาญศรีภิญโญ นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค และสมาชิกสมาคม IPv6 ประเทศไทย ให้ข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันการใช้งานและให้บริการ IPv6 ในประเทศไทยว่า ส่วนใหญ่ยังใช้ในเครือข่ายด้านการศึกษาวิจัยและใช้เฉพาะกลุ่ม สำหรับในส่วนของไอเอสพีนั้น หลายรายได้มีการทดสอบการใช้และให้บริการ แต่ยังไม่มีการเปิดให้บริการจริง นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งสมาคม IPv6 ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้งานและให้บริการ รวมทั้งมีการจัดทำนโยบายโดยกระทรวงไอซีที ตลอดจนมีการจัดทำแนวทางและมาตรการกำกับการใช้งานโดย กทช. ส่วนสาเหตุของการใช้งานและให้บริการที่ยังไม่แพร่หลายนั้น เป็นเพราะยังไม่มีคอลเลอร์แอพลิเคชัน ขาดแรงจูงใจในการใช้และให้บริการ รวม ทั้งขาดการผลักดันและสนับสนุนอย่างจริงจัง” นักวิจัยจากเนคเทค ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

จากความเห็นของนักวิชาการข้างต้น คงพอจะทำให้สรุปได้ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศในโลกคงจะต้องเปลี่ยนไปใช้ IPv6 เพื่อทดแทน IPv4 ที่กำลังจะหมดไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่างอาจจะมีปัญหาติดขัดในตอนเริ่มต้นบ้างเป็นธรรม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและก้าวทันกับยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่กำลังแข่งขันกันอย่างเข้มข้นในโลกปัจจุบัน
IPversion6เพื่อยุคใหม่ของ Internet

IP รุ่นที่ 4 ที่เรากำลังใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นรากฐานสำคัญของอินเทอร์เน็ตและการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายนั้น กำลังเริ่มเข้าสู่ทางตัน เนื่องจากแอดเดรสที่มี ไม่เพียงพอต่อการใช้งานรวมไป ถึง ตารางเลือกเส้นทางที่มีขนาดใหญ่ เกินกว่าที่เราเตอร์ ( Router ) จะรองรับไหว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า IP รุ่นที่ 4 นี้ กำลังเดินทางไปสู่จุดสิ้นสุดแห่งยุคสมัยของตัวเองแล้ว เราจำเป็นจะต้องหาชุดโปรโตคอลใหม่มาทดแทนเพื่อจะได้ก้าวไปสู่อินเทอร์เน็ตยุคใหม่ มาตรฐาน IP รุ่นที่ 6 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยเหตุนี้เองIP ยุคใหม่ ความจำเป็นที่ต้องมี IP ใหม่ ก็เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งแอดเดรสจำนวน 4 พันล้านดูเหมือนจะไม่เพียงพอต่อการ สำหรับอินเทอร์เน็ตยุคใหม่เสียแล้ว ITTF เริ่มองปัญหาการขาดแคลน แอดเดรสและมองหาหนทางแก้ไขมาตั้งแต่ปี 1990 แล้ว โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ก็มีการจัดทำข้อเสนอโปรโตคอล สำหรับทดแทน IP หลายฉบับ และ ในที่สุดก็ได้กำหนดให้ IP ในยุคถัดไป คือ IP รุ่นที่ 6 ( IP version 6 หรือ IPv6 ) เนื่องจาก IP แอดเดรส ที่ใช้ปัจจุบันนี้ถูกเก็บไว้ในส่วนของ Header ของ IP Packet เพราะฉะนั้นการขยายขนาดของ IP แอดเดรส ก็จะมีผลต่อ ขนาดของ Header ด้วย และหากว่าจำเป็นจะต้องปรับปรุงชุดโปรโตคอลใหม่ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ จะต้องเปลี่ยนแปลง Software ต่างๆ ในทุกๆ Host และ Router อีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่เกินกว่าที่จะทำให้เสร็จสิ้นได้ ในระยะเวลาอันสั้น และหากว่า IP รูปแบบใหม่นี้ มีความแตกต่าง จากเดิมอย่างสิ้นเชิงด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นเรื่องยากและลำบากเข้าไปใหญ่
มาตรฐาน IP เดิมนั้น จัดว่าผ่านการออกแบบ และ วางรากฐานมาไว้ค่อนข้างดีแล้ว และด้วยจากประสบการณ์ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ก็ช่วยให้เห็นจุดด้อยบางจุดที่มีอยู่ใน IP เดิม ดังนั้นในการออกแบบมาตรฐานให้กับ IP ยุคใหม่นี้ จึงมีพื้นฐานมาจาก มาตรฐาน IP เดิม เพียงแต่ปรับปรุงแก้ไขจุดด้อยดังกล่าวรวมถึงปรับปรุง การทำงานบางส่วนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อสอดคลอ้งกับควาต้องการทั้งในปัจจุบันและในอนาคตมากขึ้น
IP รุ่นที่ 6 นี้มีส่วนที่ปรับปรุงหลักๆ ก็คือ

-ขยายขนาดของแอดเดรสขึ้นเป็น 128 Bit
- เพิ่มขีดความสามารถการเลือกเส้นทาง และ สนับสนุนโมไบล์โฮสต์( Mobile Hosts )




- สนับสนุนการทำงานแบบ Real-Time Service




- มีระบบการติดตั้งแอดเดรสอัตโนมัติ( AutoConfiguration )
- ปรับปรุง Header ใหม่ เพื่อให้การประมวลผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น




- เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย

IP แอดเดรสรุ่นที่ 6

IP รุ่นที่ 6 นี้ จะมีแอดเดรสขนาด 128 Bit ซึ่งก็จะสามารถมี Node ได้มากถึง 3.4 x 10 ( ยกกำลัง 38 )เทียบกับมาตรฐานเดิม ก็เป็นหลายล้านๆ เท่าเลยละครับหากคิดเฉลี่ยต่อพื้นผิวโลกและถือว่าเราสามารถใช้IP แอดเดรสรุ่นที่ 6 นี้ได้อย่างเต็ม 100% แล้ว จะมีแอดเดรสได้ประมาณ 6.6x10 (ยกกำลัง 23 ) แอดเดรส ต่อพื้นที่ทุกๆ หนึ่งตารางเมตร ซึ่งก็คาดว่า ก็น่าจะเพียงพอต่ออนาคตข้างหน้าอย่างน้อยๆก็อีก 30 ปีเลยทีเดียว IP รุ่นที่ 6 นี้ ยังแบ่งแอดเดรสออกเป็น 3 ชนิด ก็คือ - Unicast ใช้เป็นแอดเดรสกำหนด
- Anycast แอดเดรสกำหนดกลุ่มของอินเทอร์เฟส Packet ที่ส่งไปยัง Anycast จะถูกส่งต่อไปยังอินเทอร์เฟส เพียงอินเทอร์เฟสเดียวที่อยู่ใกล้ที่สุดจากการวัดของโปรโตคอล
- Multicast แอดเดรสกำหนดกลุ่มอินเทอร์เฟส Packet ที่ส่งไปยัง Multicast จะถูกนำส่งไปยังทุกๆ อินเทอร์เฟสที่อยู่ในกลุ่มนั้น เพราะ IP ในรุ่น 6 นี้ จะไม่มี Broadcast Address แต่จะใช้ Multicast Address แทน รูปแบบการเขียน IP แอดเดรสรุ่นที่ 6
IP แอดเดรสในรุ่นที่ 6 นี้ จะใช้การเขียนในรูปของเลขฐาน 16 สี่หลัก แล้วคั่นกันด้วย เครื่องหมาย ":" ดังตัวอย่างนี้ FEDC:BA98:7654:3210:FEDC:BA98:7654:3210 ต่างจากของเดิมซึ่งเป็นรุ่นที่ 4 ที่เราคุ้นๆตากัน เช่น 203.151.152.2 ผู้ออกแบบได้ให้ความเห็นว่า การใช้เลขฐาน 16 แทนนั้น จะทำให้ดูกระทัดรัดและสะดวกกว่าการใช้ เลขฐาน 10 แต่ ยากต่อการจดจำและใช้ค่าโดยตรงเป็นอย่างยิ่ง ( ดูแล้วไม่ง่ายต่อการจดจำ) ดังนั้น ต่อไป ผู้ใช้งานก็จำเป็นต้องพึ่งชื่อเครื่องผ่านทาง DNS อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่โชคร้ายนั้นหล่นอยู่ที่ผู้ดูแลระบบ ซึ่งยังจำเป็นต้องใช้แอดเดรสในรูปแบบตัวเลขนี้ แต่ก็ใช่ว่าการเขียนแอดเดรสใหม่นี้จะต้องเขียนยาวๆ กันแบบนี้เสมอไป เพราะผู้ออกแบบ ก็ได้เผื่อไว้แล้ว เพื่อความสะดวกในการจดจำ ดังนั้นจึงได้มี การกำหนดการเขียนแอดเดรสแบบย่อๆ ไว้ด้วย โดยจะย่อแอดเดรสที่มีเลขศูนย์ ( 0 ) ต่อเนื่องกันหลายๆตัว เช่น 1080:0000:0000:0000:0000:0008:0800:200C:417A ก็จะย่อโดยละ0ทั้ง4ตัวที่อยู่ระหว่าง":"ให้เป็นตัวเดียวและเลข"0"ที่อยู่ข้างหน้าตัวเลขอื่นๆไว้ได้ด้วย ดังนี้ 1080:0:0:0:0:8:800:200C:417A และยังสามารถละเลข "0" ที่ต่อเนื่องกันเป็นชุดๆ นี้ได้อีกด้วย โดยใช้สัญลักษณ์ "::" แทน ดังนี้ 1080::8:800:200C:417A เครื่องหมาย "::" นี้ สามารถอยู่ได้ทั้งหน้าและหลังสุด หรืออยู่ภายในก็ได้ เช่น FEDC:BA98:0000:0000:0000:0000:7654:3210 ย่อได้เป็น FEDC:BA98::7654:3210 FEDC:BA98:7654:3210:0000:0000:0000:0000 ย่อได้เป็น FEDC:BA98:7654:3210 :: 0000:0000:0000:0000:FEDC:BA98:7654:3210 ย่อได้เป็น ::FEDC:BA98:7654:3210
ข้อแม้ : การใช้ "::" นั้นจะต้องใช้เพียงครั้งเดียว ต่อการเขียนหมายเลข IP แอดเดรส 1 ชุด เพื่อไม่ให้เกิดความกำกวม ตัวอย่างเช่น 0:0:0:BA98:7654:0:0:0 อาจเขียนแทนได้ด้วย ::BA98:7654:0:0:0 หรือ 0:0:0:BA98:7654:: อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่สามารถเขียนแทนด้วย ::BA98:7654:: ได้เพราะเราจะ ไม่สามารถแยกจำนวนบิตที่เป็นศูนย์ที่อยู่ในส่วนหน้า และ ส่วนหลังได้แล้ว IP แอดเดรสของรุ่นที่ 4 จะเอามาเขียนแบบรุ่นที่ 6 ได้ไหม? คำตอบคือได้ครับ โดยการเติม นำหน้า แล้วตามด้วยรูปแบบเดิมของแอดเดรสรุ่น 4 เช่น 203.151.152.2 ก็จะเขียนแบบผสมได้เป็น ::203.151.152.2 หรือเต็มๆ 0000:0000:0000:0000:0000:0000:203.151.152.2




ดูจุดเด่นอื่นๆ ของ IP รุ่นที่ 6 กันต่อดีกว่าครับ ได้แก่ เรื่องของการติดตั้งอัตโนมัติ และการรักษาความปลอดภัย การติดตั้งแบบอัตโนมัติ การติดตั้งหรือกำหนด IP แอดเดรสในรุ่นที่ 4 ที่เราๆใช้กันอยู่นั้น โดยทั่วๆไป จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบในการป้อน หรือ กำหนดแอดเดรสและรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นให้ แต่สำหรับ IP แบบใหม่นี้ จะสามารถติดตั้งได้โดยอัตโนมัติ โดยจะให้เครื่องทำการตรวจค้นและกำหนดค่าแอดเดรส รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็น แบบ " Plug and Play " ( ไม่ใช่ Plug and Pray ) ได้เลย โดยที่ผู้ใช้ หรือ ผู้ดูแลระบบ ไม่ต้องเข้าไปจัดการใดๆเลย การรักษาความปลอดภัย IP รุ่นที่ 6 นี้จะมีการเตรียมระบบการรักษาความปลอดภัยไว้ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ แบบการพิสูจน์ตัวจริง ( Authentication ) และแบบการเข้ารหัส ( Encryption ) การพิสูจน์ตัวจริงนั้น จะเป็นกระบวนการรับประกันว่า Packet ที่ส่งด้านต้นทาง ได้ส่งมาจริง และข้อมูลที่ได้รับ ก็ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงในระหว่างทาง ซึ่งช่วยยืนยัน ว่าไม่มีการปลอมแปลงเอกสาร หรือ แอบอ้างผู้ส่งได้ การพิสูจน์ตัวจริงนั้น ทำโดยสร้าง ค่าพิสูจน์ตัวจริง หรือ Authentication Dataซึ่งได้มาจาก การคำนวณข้อมูลที่ต้องการส่ง และ ส่งค่านี้ไปพร้อมๆกับข้อมูล แล้วทางผู้รับ ก็จะนำเอาข้อมูลมาคำนวณพิสูจน์ ตัวจริงบ้าง แล้ว เปรียบเทียบกับค่าที่ได้รับว่าตรงกันไหม หากตรง ก็จะถือว่า เป็นข้อมูลที่ส่งมาจากผู้ส่งจริงๆ และข้อมูลนั้น ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงระหว่างทาง IP รุ่นที่ 6 นี้ จะใช้ขั้นตอนในการตรวจสอบตามกรรมวิธีแบบ MD5 หรือ Message Digest 5 ( สำหรับรายละเอียดเรื่องนี้ ผมจะลองค้นหามาให้อีกทีนะครับ )การพิสูจน์ตัวจริงนี้ไม่ได้เป็นข้อบังคับ หากทาง Host เห็นว่าไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แต่อย่างใด หรือต้องการใช้มาตรฐาน อื่นในการพิสูจน์ ก็สามารถใช้ได้ โดยการตกลงกันระหว่าง Host ทั้ง 2 ฝั่ง ( ผู้รับ - ผู้ส่ง ) การเข้ารหัสลับนั้น เป็นกระบวนการเข้ารหัสของข้อมูล เพื่อให้ผู้รับปลายทางเท่านั้นที่จะสามารถถอดรหัสและอ่านข้อมูลได้ โดยใช้ค่าหนึ่งค่า เพื่อกำหนดรูปแบบ การใช้ระบบรักษาความปลอดภัย ค่านี้เรียกว่า ค่า Security Parameter Index หรือ SPI

โดยปกติ ด้านปลายทางจะเป็นผู้กำหนดค่า SPI แล้วส่งให้กับทางฝ่ายต้นทางทราบในระหว่างกระบวนการแลกเปลี่ยน กุญแจรหัสกัน การพิสูจน์ตัวจริงนั้น จะเป็นเพียงการรับประกันว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องและมาจากตัวจริงเท่านั้นแต่ไม่อาจป้องกันการดักจับ Packet และ การลักลอบนำข้อมูล ไปใช้ได้ ดังนั้นการเข้ารหัสนี้จึงเป็นการป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว โดยผู้ที่มีกุญแจรหัสเท่านั้น จึงจะสามารถอ่านข้อมูลนั้นๆ ได้

การปรับเปลี่ยนไปสู่ IP รุ่นที่ 6 ITTF คาดการณ์ไว้ว่า IP รุ่นที่ 4

( รุ่นปัจจุบัน ) นั้นจะรองรับการใช้งานได้จนกระทั่งราวๆ ค.ศ. 205 ถึง 2010 ( ตาม RFC 1715 ) เท่านั้น แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดกำหนดแน่ชัด ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนจาก IP รุ่นที่ 4 ไปยังรุ่นที่ 6 เมื่อใด และแน่นอน ไม่สามารถทำการปรับเปลี่ยนพร้อมๆกันในคราวเดียวกันทั้งระบบอินเทอร์เน็ตได้ในวันใด วันหนึ่ง ขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนพอจะสรุปได้ดังนี้
- ปรับ DNS Server ให้สามารถทำงานกับ IP แอดเดรสในรุ่นที่ 6 ได้
- เพิ่ม แอดเดรสรุ่น 6 ให้เข้ากับฐานข้อมูล DNS - สร้างระบบ Dual Stack ให้ Host และ Router ( Dual Stack หรือ แสตคคู่ ทำให้ Host และ Router สามารถทำงานได้กับทั้ง IP รุ่นที่ 4 และ IP รุ่นที่ 6 )
- ปรับตั้งระบบอุโมงค์เครือข่ายให้สนับสนุนการทำงานของ IP รุ่นที่ 6 และ Dual Stack ด้วย ( การส่ง Packet IP รุ่นที่ 6 ข้ามไปยัง IP รุ่นที่ 4 จำเป็นต้องใช้การสร้างอุโมงค์เครือข่ายเป็นตัวช่วยในการส่ง )




- ทำการแปลง Header สำหรับ Node ที่ยังเป็นรุ่นที่ 4 โดยขั้นตอนนี้จะอยู่ในช่วงระยะสุดท้ายแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมข้อกำหนดของ IP รุ่นที่ 6 นี้ จะตีพิมพ์อยู่ใน RFC2460 การจัดแบ่งแอดเดรส ตีพิมพ์ใน RFC 2373 แอดเดรส Global Unicast ตีพิมพ์ใน RFC2374 Flow Label Field ของ IP รุ่น 6 อยู่ใน RFC1809 และการปรับเปลี่ยนไปสู่ IP รุ่นที่ 6 จะอยู่ใน RFC1933




โลกาภิวัฒน์ - อินเทอร์เน็ตยุคใหม่(IPng)




เรื่องของอินเทอร์เน็ตที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันจนสบายใจทั่วหน้า เริ่มส่อเค้าว่าจะเต็มอัตราศึกในอนาคต อีกประมาณ 3 ปีข้างหน้าถ้าหากไม่มีอะไรใหม่ระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันคือ ไอพีวี 4 (IPV4) ระเบิดจนล่มแน่ เพราะระบบปัจจุบันรองรับที่อยู่ของผู้ใช้ได้เพียง 4 พันกว่าล้านชื่อเท่านั้น และมีแค่ประมาณ 16.7 ล้านเครือข่ายนั้น วิศวกรอินเทอร์เน็ตจากหลายประเทศกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า ไออีทีเอ็ฟ (IETF-Internet Engineering Task Force) จึงได้มีมติในที่ประชุมมานานแล้วที่โตรอนโต ประเทศแคนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1994 โน่น ว่าจะมีการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้อยู่ปัจจุบัน และขณะนี้ก็ได้พัฒนาจนถึงรุ่นที่ 6 แล้วเรียกว่า ไอพีวี 6 (IPV 6-Internet Protocol Version 6) และเรียกรุ่นนี้สั้น ๆ ว่า อินเทอร์เน็ตยุคใหม่ หรือ IPng-Internet Protocol Next Generation ที่ว่ายุคใหม่นั้นคือระบบอินเทอร์เน็ตปัจจุบันไอพีวี 4 นั้น ฐานของจำนวนที่อยู่ (Addresses) มี 32 บิตเท่านั้น จึงได้ประมาณ 4 พันกว่าล้านชื่อเท่านั้น แต่ของไอพีวี 6 นั้น ชิพที่ใช้มีถึง 128 บิต เพราะฉะนั้นจึงทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตยุคใหม่ได้แบบอสงไขย ระบบอินเทอร์เน็ตยุคใหม่นั้นจึงมีจำนวนที่อยู่ได้ถึง 4 พันล้าน คูณกัน 4 ครั้ง หรือขนาดโตกว่าระบบอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน 4 พันล้าน คูณกัน 3 เป็นตัวเลข 39 หลักดังนี้ 340,282,366,920,938,463,463,374,607,431,768,211,456 ยาวมากจนน่าจะบัญญัติศัพท์ใหม่สำหรับจำนวนนับเพราะมีคำว่าล้านหลายครั้ง ซึ่งในทางทฤษฎี ถ้าหากสมมุติว่าพื้นที่ทั้งโลกที่เราอยู่นี้มีประมาณ 511,263,971,197,990 หรือ 511 ล้านล้านตารางเมตร นำไปหารกับจำนวน ที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต เวอร์ชั่น 6 ก็จะได้ถึง 665,570,793,348,866,943,898,599 หรือ 655,570 ล้านล้านชื่อซึ่งต่อให้โลกมนุษย์มีคนจำนวนกี่ล้านคนต่อตารางเมตรก็ใช้ไม่หมด
นักวิศวกรก็ประเมินว่าหากระบบอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ ทำงานได้แย่สุด ๆ ก็จะเหลือประมาณ 1,564 ชื่อที่อยู่ต่อตารางเมตร มนุษย์ในอนาคตจะขี่คอกันหรืออยู่ตึกสักพันชั้นทั่วโลกระบบใหม่นี้ก็ยังอยู่ได้ แต่กลุ่มนี้ก็ประเมินว่าทางปฏิบัติจริง ๆ น่าจะทำให้ถึง 3,911,873,538,269,506,102, หรือ 3.9 ล้านล้านล้านชื่อที่อยู่ต่อตารางเมตร ยังไง ๆ ก็ใช้ได้พอเพียงในอนาคตจนเกิดเทคโนโลยีใหม่มาทดแทนได้หลายรอบ เห็นความมโหฬารของระบบอินเทอร์เน็ตยุคใหม่หรือยังครับท่านผู้อ่าน นอกจากนี้ก็ยังได้มีปรับปรุงอะไรใหม่ ๆ อีกมากมาย เช่น การใช้ลักษณะหัวชื่อเรื่องที่ง่ายขึ้น และมีทางเลือกในการส่งข้อมูลทุกประเภทได้อีกมาก นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงหลายด้าน เช่น การรับรองตัวบุคคลผู้ใช้ความปลอดภัยด้านการส่งข้อมูล การส่งข้อมูลความลับเฉพาะบุคคล การจัดเส้นทางข้อมูลแบบใหม่ให้ข้อมูลไหลได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบันอีกมาก และยัง




My Celander G-Online